ขั้วหลอดไฟ ดูอย่างไรดี

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #1

หลอดไฟเสีย แต่พอจะไปซื้อหลอดไฟใหม่จะบอกขั้วกับผู้ขายอย่างไรดี?
   บางคนอาจเจอปัญหาแบบนี้ วันนี้จึงจะมาช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในการเรียกขั้วหลอดไฟแบบต่างๆ เน้นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะขั้วหลอดไฟมีหลากหลายแบบ บางแบบอาจไม่ค่อยได้เจอบ่อยๆ โดยทั่วไปหลายๆคนจะเจอขั้วไฟแบบขั้วเขี้ยว ,ขั้วเกลียว ,ขั้วหลอดนีออน เป็นส่วนใหญ่

  อย่างที่เกริ่นไว้เราจะแนะนำเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ใช้กันประจำ ไม่แยกประเภทเยอะเกินไปจะทำให้งง

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #2

หลอดไฟ+ขั้ว แบบเขี้ยว Bayone Cap

   หลอดตระกูล B หลอดประเภทนี้จะมีเขี้ยวล็อค อยู่ 2 ข้างของตัวหลอดและมีขั้วของไฟฟ้า L/N อยู่ด้านล่าง ต้องใช้การกดและบิดให้เขี้ยวเข้าไปล็อคกัน ระหว่างหลอดกับขั้ว โดยที่นิยมใช้ทั่วไปจะมี B22 , B15 ตัวเลขนี้ได้มาจากขนาดของบอดี้ด้านล่างของหลอด วัดระยะเส้นผ่านศูนย์กลาง มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร/mm. 

   เช่น B22 (หลอดเขี่ยวที่ใช้ทั่วไป) ก็คือระยะเส้นผ่านศูนย์กลางของบอดี้หลอดด้านล่าง = 22 มิลลิเมตร จึงเรียกขั้ว B22

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #3

หลอดไฟ+ขั้ว แบบเกลียว Edison Screw

   หลอดไฟตระกูล E หลอดประเภทนี้นิยมใช้กันแบบแพร่หลาย โดยตัวหลอดจะมีเกลียวอยู่ที่บอดี้ด้านล่าง โดยจะมีขั้ว N อยู่ตรงเกลียว และจะมีขั้ว L อยู่ตรงก้น ล่างสุดของตัวหลอด (แต่การต่อใช้งานจริงสามารถสลับขั้วได้อยู่ที่ผู้เดินระบบอีกที) 

   ทั่วไปที่นิยมใช้กันจะใช้ที่เบอร์ E27 , E14 เป็นส่วนใหญ่ ตัวเลขนี้ได้มาจากขนาดของบอดี้ด้านล่างของหลอด วัดระยะเส้นผ่านศูนย์กลาง มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร/mm.       

   เช่น  E27 (หลอดเกลียวที่ใช้ทั่วไป) ก็คือระยะเส้นผ่านศูนย์กลางของบอดี้หลอดด้านล่าง = 27 มิลลิเมตร จึงเรียกขั้ว E27

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #4

หลอดไฟ+ขั้ว แบบเสียบ 

   หลอดไฟตระกูล G นี้ จะมีขั้ว (ขา) ยื่นออกมาจากบอดี้ 2 ขา เพื่อใช้เสียบกับขั้วรับให้พอดี ยกเว้นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งจะมีขาข้างละ 2 ขาจำนวน 2 ข้าง โดยทั่วไปจะเจอเบอร์ G13 , GU10 ซะเป็นส่วนใหญ่

   วิธีดูขั้วประเภทนี้จะเป็นการวัดระหว่าง ระยะขั้วทั้ง 2 ขั้ว ได้ระยะออกมาเป็น มิลลิเมตร/mm.

   เช่น G13 (หลอดฟลูออเรสเซ็นต์) ก็คือระยะของขั้ว 2 ขั้วที่อยู่ด้วยกัน มีระยะห่าง = 13 มิลลิเมตร จึงเรียกขั้ว G13

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #5

   นี้คือการดูขั้วหลอดไฟแบบคร่าวๆ เน้นเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ใช้งานทั่วไปแต่ในความเป็นจริงขั้วหลอดไฟ และชนิดของหลอดไฟยังมีอีกมากมายหลายแบบ บางชนิดใช้กับงานที่ต้องการไว้ในที่เฉพาะ เช่นในโรงงาน , ห้องโชว์รูม , งานประดับต่าง, ห้องเฉพาะบุคคล และอีกหลากหลายความต้องการ ท้ายนี้เราจะเอารูปหลอดไฟ และ ขั้วต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่างเล็กน้อยเพื่อประกอบความรู้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะครับ..

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #6

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #7

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #8

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #9

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #10

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #11

<strong>ขั้ว<strong>หลอดไฟ</strong></strong> ดูอย่างไรดี #12


NYS service

ต้องการใช้บริการ หรือ พูดคุยปรึกษาเรื่อง ปัญหาที่เกิดกับระบบต่างๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำ แสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ม่าน และ ประตูอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ และ พลังงานแสงอาทิตย์ ติดต่อสอบถามพวกเรา NYS ได้เสมอครับ

0816495153